แชร์

รู้จักกับโปรแกรม Arduino IDE

อัพเดทล่าสุด: 27 ก.ค. 2024
3554 ผู้เข้าชม

โปรแกรม Arduino IDE เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมควบคุมและสามารถทำการแปลงไฟล์ดังกล่าวเพื่อนำไปอัพโหลดลงยังบอร์ด Arduino โดยเราสามารถที่จะเลือกใช้โปรแกรมแบบ online IDE หรือ desktop IDE ก็ได้ (สำหรับในบทความนี้ จะอธิบายเฉพาะแบบ Desktop IDE ที่ใช้กับ Windows OS เท่านั้น)

1. โปรแกรมแบบ online IDE (Arduino Web Editor) จะเป็นการเขียนโปรแกรมผ่านเว็บไซค์ โดยข้อมูลต่างๆ ที่เราทำการเขียนขึ้นมา จะถูกนำไปเก็บไว้บน Cloud ซึ่งทำให้สะดวกในการใช้งานที่ไหนก็ได้ นอกจากนั้นเรายังไม่จำเป็นต้องอัพเดทโปรแกรมหรือไลบอรี่ สามารถเข้าได้ที่ https://create.arduino.cc/editor

2. โปรแกรมแบบ desktop IDE เป็นโปรแกรมแบบ offline นั่นคือ เราจะต้องทำการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ https://www.arduino.cc/en/software ซึ่งจะมีให้เลือกตามการใช้งาน OS ของเรา ในที่นี้เราจะทำการดาวน์โหลดที่ Windows Win 7 and newer จากนั้นทำการ Install ไฟล์ EXE ที่เราดาวน์โหลดมา

รูปหน้า Download บนเว็บไซค์ (Update : 9-9-2564)

การติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE

1. เมื่อทำการดาวน์โหลดโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการดับเบิ้ลคลิ๊กที่ตัวโปรแกรม เพื่อเริ่มทำการติดตั้ง

รูปโปรแกรมติดตั้ง Arduino IDE

2. ตัวโปรแกรมจะเรื่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง ให้กดปุ่ม I Agree

รูปกรอบข้อตกลงต่างๆ

3. เลือก Component ทั้งหมด จากนั้นกดปุ่ม Next

รูป Component ต่างๆ ที่จะทำการติดตั้ง

4. เลือกตำแหน่งที่ต้องการจะจัดเก็บโปรแกรม (โดยปกติ โปรแกรมจะจัดเก็บที่ตำแหน่ง C:Program Files (x86)Arduino) จากนั้นกดปุ่ม Install

รูปตำแหน่งที่จัดเก็บโปรแกรม

5. หลังจากกดปุ่ม Install โปรแกรมจะทำการติดตั้ง ให้ทำการรอจนโปรแกรมทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

รูปขณะที่โปรแกรมกำลังทำการติดตั้ง

6. เมื่อโปรแกรมทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อย หน้าจอจะขึ้นคำว่า Completed ให้ทำการกดปุ่ม Close เพื่อจบการติดตั้ง

รูป เมื่อโปรแกรมทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

การใช้งานโปรแกรม Arduino IDE

โปรแกรม Arduino IDE จะประกอบไปด้วยเมนูบาร์, เมนู shortcut, พื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม, พื้นที่แสดงสถานะของโปรแกรม ตัวโปรแกรมสามารถอัพโหลดข้อมูลไปยังบอร์ด Arduino และติดต่อได้โดยตรง

ในการเขียนโปรแกรมควบคุมของโปรแกรม Arduino IDE นั้น เราจะเรียกว่า Sketch โดยการเขียน Sketch นี้ จะเป็นการเขียนในลักษณะของข้อความและทำการบันทึกให้เป็นไฟล์นามสกุล ino ซึ่งเราสามารถที่จะเขียน ลบ ค้นหาและเปลี่ยนแปลงข้อความได้

ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม Arduino IDE

1. เมนูบาร์ จะประกอบไปด้วย File, Edit, Sketch, Tools และ Help

รูปเมนูย่อยของเมนู File

เมนู File จะมีเมนูย่อยดังนี้

1. New ใช้สำหรับสร้างหน้าต่างใหม่ในการเขียน Sketch

2. Open ใช้ในการเปิด Sketch ที่เราบันทึกเอาไว้

3. Open Recent ใช้ในการเปิด Sketch ที่เราเคยเปิด โดยจะมีชื่อขึ้นมาให้เราเลือก

4. Sketchbook

5. Examples ใช้สำหรับเปิดโปรแกรมตัวอย่างที่อยู่ในโปรแกรม Arduino IDE

6. Close ใช้สำหรับปิดโปรแกรม Arduino IDE เฉพาะหน้าที่เรากดปิด

7. Save ใช้สำหรับบันทึก Sketch ที่เรากำลังเขียนอยู่ ถ้าเรายังไม่เคยบันทึกมาก่อน จะขึ้นหน้าต่างให้เราใส่ชื่อและเลือกพื้นที่ในการบันทึก

8. Save As ใช้สำหรับบันทึกชื่อของ Sketch ที่แตกต่างจากเดิม

9. Page Setup ใช้สำหรับตั้งค่าพื้นที่ในการพิมพ์ของปริ้นเตอร์

10. Print ใช้สำหรับสั่งพิมพ์ในส่วนของพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุมออกไปยังปริ้นเตอร์

11. Preferences ใช้สำหรับเปิดหน้าต่างการตั้งค่าบางอย่างของโปรแกรม Arduino IDE เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน

12. Quit ใช้สำหรับปิดโปรแกรม Arduino IDE ทุกหน้าต่าง

รูปเมนูย่อยของเมนู Edit

เมนู Edit จะมีเมนูย่อยดังนี้

1. Undo ใช้สำหรับย้อนกลับทำงานก่อนหน้านี้

2. Redo ใช้สำหรับขยับการทำงานขึ้นไป 1 ครั้ง (คำสั่งนี้จะสามารถใช้ได้เมื่อมีการกด Undo ก่อน)

3. Cut ใช้สำหรับลบข้อความที่เราพิมพ์ลงในพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม (ควรทำไฮไลน์ข้อความนั้นก่อนจะใช้คำสั่งนี้)

4. Copy ใช้สำหรับก็อปปี้ข้อความที่เราทำไฮไลน์เอาไว้ในพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม

5. Copy for Forum ใช้สำหรับก๊อปปี้ข้อความทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม ไปวางไว้ในโปรแกรมเอกสารต่างๆ ในลักษณะเดิม

6. Copy for HTML ใช้สำหรับก๊อปปี้ข้อความทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม ไปวางไว้ในโปรแกรมเอกสารต่างๆ ในลักษณะของ HTML

7. Paste ใช้สำหรับวางข้อความที่เราเคยทำการก๊อปปี้ไว้ ลงในพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม

8. Select All เป็นการเลือกไฮไลน์ข้อความทั้งหมด

9. Go to line เป็นการกำหนดให้ตำแหน่งของเคเซอร์ไปยังตำแหน่งที่เราต้องการ

10. Comment/Uncomment ใช้สำหรับกำหนดให้ในบรรทัดที่เคเซอร์อยู่ เป็นข้อความอธิบายหรือไม่ใช่ข้อความอธิบาย

11. Increase Font Size ใช้สำหรับเพิ่มขนาดของตัวอักษรในพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม

12. Decrease Font Size ใช้สำหรับลดขนาดของตัวอักษรในพื้นที่เขียนโปรแกรมควบคุม

13. Find ใช้สำหรับค้นหาข้อความหรือค้นหาข้อความพร้อมกับทำการเปลี่ยนแปลงข้อความนั้น

รูปเมนูย่อยของเมนู Sketch

เมนู Sketch จะมีเมนูย่อยดังนี้

1. Verify/Compile ใช้สำหรับตรวจสอบโค้ดที่เราเขียนขึ้น ว่ามีผิดพลาดหรือไม่ พร้อมกับคอมไฟล์

2. Upload ใช้สำหรับคอมไฟล์โค้ดที่เราเขียนขึ้น และอัพโหลดสู่บอร์ด Arduino โดยตรง

3. Upload Using Programmer ใช้สำหรับคอมไฟล์โค้ดที่เราเขียนขึ้น และอัพโหลดสู่เครื่องโปรแกรม

4. Export compiled Binary ใช้สำหรับคอมไพล์โค้ดที่เราเขียนขึ้น และแปลงเป็นไฟล์ HEX ลงไปที่โฟลเดอร์ของโปรแกรมที่เราบันทึกเอาไว้

5. Show Sketch Folder ใช้สำหรับดูตำแหน่งของไฟล์ Sketch ที่เรากำลังเขียนอยู่ ว่าอยู่ที่ตำแหน่งไหน

6. Include Library ใช้สำหรับเรียก Library ที่เราต้องการ ขึ้นมาใช้งาน

รูปเมนูย่อยของเมนู Tools

เมนู Tools มีเมนูย่อยดังนี้

1. Manage Libraries ใช้สำหรับการเข้าสู่การจัดการ Library ต่างๆ

2. Serial Monitor เปิดหน้าต่าง Serial Monitor (จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อ มีการต่อบอร์ดอยู่กับคอมพิวเตอร์)

3. Board: .. ใช้ในการเลือกบอร์ดให้ตรงกับบอร์ดที่เราใช้งาน

4. Port ใช้เลือก Com Port ที่บอร์ด Arduino ต่ออยู่

5. Burn Bootloader ใช้สำหรับโหลดส่วนของ Bootloader ลงไปยังบอร์ด Arduino

รูปเมนูย่อยของเมนู Help

เมนู Help มีเมนูย่อยดังนี้

1. Getting Started เป็นลิ้งค์เรียนรู้การใช้งานเบื้องต้น ตั้งแต่บอร์ด Arduino, การดาวน์โหลดโปรแกรม, การติดตั้งโปรแกรม, การลง Driver ของบอร์ด เป็นต้น

2. Environment เป็นลิ้งค์เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Arduino IDE

3.Troubleshooting เป็นลิ้งค์รวมปัญหาต่างๆ และแนวทางการแก้ไข

4. Reference เป็นลิ้งค์เข้าสู่หน้าเรียนรู้คำสั่งต่างๆ

5. Find in Reference ใช้สำหรับค้นหาการอ้างอิงของคำสั่งต่างๆ โดยการนำเคอเซอร์ไปวางไว้ ณ คำสั่งนั้น แล้วทำการกดคำสั่งนี้

6. Frequently Asked Questions เป็นลิ้งค์เข้าสู่คำถามที่ผู้ถามตอบบ่อยๆ

7. Visit Arduino.cc เป็นลิ้งค์เข้าสู่เว็บไซค์ https://www.arduino.cc

8. About Arduino ใช้สำหรับดูวอร์ชั่นของโปรแกรม Arduino IDE

2. เมนู Shortcut

รูปเมนู Shortcut

ปุ่ม Verify ใช้สำหรับตรวจสอบโค้ดที่เราเขียนขึ้น ว่ามีผิดพลาดหรือไม่ พร้อมกับคอมไฟล์

2. ปุ่ม Upload ใช้สำหรับคอมไฟล์โค้ดที่เราเขียนขึ้น และอัพโหลดสู่บอร์ด Arduino

3. ปุ่ม New ใช้สำหรับสร้างหน้าต่างใหม่ในการเขียน Sketch

4. ปุ่ม Open ใช้ในการเปิด Sketch ที่เราบันทึกเอาไว้

5. ปุ่ม Save ใช้สำหรับบันทึก Sketch ที่เรากำลังเขียนอยู่ ถ้าเรายังไม่เคยบันทึกมาก่อน จะขึ้นหน้าต่างให้เราใส่ชื่อและเลือกพื้นที่ในการบันทึก

6. ปุ่ม Serial Monitor เปิดหน้าต่าง Serial Monitor (จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อ มีการต่อบอร์ดอยู่กับคอมพิวเตอร์)   

รูปหน้าต่าง Serial Monitor

3. ในพื้นที่แสดงสถานะของโปรแกรม จะเป็นพื้นที่แสดงข้อความขณะที่เรากำลังทำการบันทึก การส่งข้อมูล การแสดงตำแหน่งที่ Sketch ผิดพลาด และการบอกสถานะอื่นๆ ของโปรแกรม


บทความที่เกี่ยวข้อง
เรียนรู้การควบคุมขา OUTPUT กับบอร์ด UNO R3
บอร์ด Arduino UNO R3 จะมีขา OUTPUT แบบ Digital อยู่ทั้งหมด 16 ขา
15 ส.ค. 2024
ทำความรู้จักกับบอร์ด UNO
บอร์ด UNO เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ไอซีเบอร์ ATmega328P เป็นไอซีหลัก ซึ่งภายในตัวไอซีจะขา INPUT และ OUTPUT แบบดิจิตอลจำนวน 14 ขา (สามารถใช้เป็นขา PWM output จำนวน 6 ขา) นอกจากนั้นยังมีขาแบบ Analog ไว้ให้ใช้งานจำนวน 6 ขา
15 ส.ค. 2024
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy และ Cookies Policy
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy