หุ่นยนต์ชุดนี้ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบตีนตะขาบซึ่งช่วยให้การขับเคลื่อนไปในพื้นที่ที่ ยากลำบากทำได้ง่ายขึ้น ผู้เล่นจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนแบบสายพานส่งกำลัง ซึ่งแตก ต่างจากระบบขับเคลื่อนแบบล้อ สำหรับชุดควบคุมจะใช้บอร์ด NodeMCU 1.0 เป็นตัวควบคุม หุ่นยนต์ โดยภายในบอร์ดจะมีโมดูล ESP8266 ซึ่งมีไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 32 บิท อยู่ภายใน มีหน่วยความจำแบบแฟลชขนาด 4MB รวมทั้งมีโมดูล WiFi อีกด้วย ทำให้สามารถ รับส่งข้อมูลหรือสั่งการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ เช่น ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์, ควบคุม การเปิดปิดของหลอดไฟหรือควบคุมการรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น นอกจากนั้นที่บอร์ด NodeMCU 1.0 ยังมีไอซี CP2102 สำหรับแปลงสัญญาณ USB เป็น UART เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์สำหรับโหลดโปรแกรมควบคุมที่เราเขียนขึ้น ผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรมควบ- คุมผ่านโปรแกรม Arduino IDE หรือโปรแกรมภาษา LUA ได้ ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมา จึง สามารถนำไปพัฒนาสู่การสั่งงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตหรือที่เราเรียกว่า Internet of Things หรือ IoT ได้ในที่สุด
นอกจากที่ผู้ใช้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมควบคุมแล้ว ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ระบบแม็คคานิกส์ต่างๆ เช่น การทำงานของมอเตอร์เกียร์และสายพานส่งกำลัง เป็นต้น, เรียนรู้การสร้างแอพพลิเคชั่น เพื่อใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์และเรียนรู้การทำงานของวงจร อิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลทางด้านเทคนิค
- ใช้แหล่งจ่ายไฟขนาด 7.4-8.4 โวลท์ดีซี (ถ่านขนาด 18650 จำนวน 2 ก้อน)
- กินกระแสสูงสุดประมาณ 760 มิลลิแอมป์
- สามารถใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือควบคุมหุ่นยนต์ได้ โดยผ่านระบบ WiFi
- มี LED จำนวน 3 ดวง สำหรับใช้แสดงผล
- แอพพลิเคชั่นที่จัดทำไว้ ใช้ได้บนโทรศัพท์มือถือระบบ ANDROID ไม่เกิน เวอร์ชั่น 10
- ขนาดแผ่นวงจรพิมพ์ของวงจรควบคุม : 2.76 นิ้ว x 3.23 นิ้ว
- ขนาดของหุ่นยนต์ (กxยxส) : 172 x 180 x 85 มม.
- น้ำหนักรวมของหุ่นยนต์ (ไม่รวมถ่านไฟฉาย) : 350 กรัม
- ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบสายพาน
- ตัวหุ่นยนต์ใช้แผ่นวงจรพิมพ์แบบ Epoxy
- ใช้มอเตอร์เกียร์ทั้งหมดจำนวน 2 ตัว
- คุณสมบัติของมอเตอร์เกียร์ที่ใช้
- ขนาดแรงดันไฟฟ้า : 3-6VDC, 120mA@6VDC (ขณะไม่มีโหลด)
- ความเร็วสูงสุดของมอเตอร์เกียร์ (ขณะไม่มีโหลด) : 120-240rpm/min
- อัตราทด : 1:48